2. Why Did Jesus Die?
สำหรับการศึกษาเพิ่มเติมในชุดนี้ คลิกที่นี่
2. ทำไมพระเยซูต้องตาย?
ฉันใหม่กับเรื่องนี้
คุณรู้จักใครมั้ย จะเพื่อนหรือญาติก็ตาม ที่ใส่สร้อยคอเป็นแท่นตัดคอนักโทษ? หรือไม่ก็สร้อยคอเก้าอี้ ไฟฟ้าที่เอาไว้ใช้ประหารชีวิต? ฟังดูแปลกมั้ยละครับ? แต่มันบ่อยแค่ไหนที่คุณเดินเจอใครสักคนที่ใส่ สร้อยคอไม้กางเขน? เราคุ้นเคยกับการเห็นคนใส่สร้อยคอไม้กางเขนจนเราไม่ใส่ใจมันแล้ว แต่ความ จริงคือไม้กางเขนเป็นเครื่องมือที่ใช้ประหารชีวิตอันหนึ่งไม่ต่างกับแท่นตัดคอหรือเก้าอี้ไฟฟ้า ดังนั้นเหตุ ใดเราถึงเห็นคนใส่สร้อยคอกางเขนกันเกลื่อนกลาด? การถูกตรึงด้วยกางเขนนับเป็นหนึ่งในรูปแบบ การประหารชีวิตที่โหดร้ายทารุนที่สุดเท่าที่เคยมีมา แม้กระทั่งชาวโรมัน ซึ่งไม่ใช่กลุ่มคนที่มีชื่อเสียง ด้านดีเรื่องสิทธิมนุษยชน ยังล้มเลิกการประหารโดยการตรึงกางเขนในปี ค.ศ. 337 เหตุเพราะมันไร้ มนุษยธรรมเกินไป ตั้งแต่ไหนแต่ไรกางเขนถือเป็นสัญลักษณ์ของคริสต์ศาสนา เนื่องจากเนื้อหาหลัก ของพระกิตติคุณคือการตายของพระเยซู และหนังสือส่วนใหญ่ในพระคัมภีร์ฉบับพันธสัญญาใหม่ก็ เป็นการอธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นบนไม้กางเขน
ตอนที่เปาโลเดินทางไปเมืองโครินธ์ เขากล่าวว่า “ข้าพเจ้าได้ตัดสินใจแล้วว่า จะไม่ใช้ความรู้ในเรื่อง ใดๆ กับพวกท่านเลย เว้นแต่เรื่องพระเยซูคริสต์และการที่พระองค์ถูกตรึงบนไม้กางเขน” (1 โครินธ์ 2:2) เวลาเรานึกถึงวินสตัน เชอร์ชิล, โรนัลด์ เรแกน, มหาตมะ คานธี, หรือ มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ เรามักจะคิดถึงสิ่งที่พวกเขาทำตลอดช่วงชีวิตพวกเขา เราพูดถึงอิทธิพลที่พวกเขามีต่อสังคม ทว่าเมื่อ เราอ่านพระคัมภีร์ฉบับพันธสัญญาใหม่ เราเรียนรู้เกี่ยวกับการตายของพระองค์มากกว่าชีวิตของ พระองค์เสียอีก พระเยซูคือผู้ที่เปลี่ยนแปลงหน้าประวัติศาสตร์โลกมากกว่าใครทั้งนั้น และเป็นที่จดจำ เพราะการตายของพระองค์มากกว่าชีวิตของพระองค์อีก แต่ทำไมถึงมีความสนใจในการตายของพระ เยซูขนาดนี้? มันแตกต่างอย่างไรกับการตายของเจ้าหญิงไดอาน่า หรือผู้ที่ถูกสังหารเพื่อพระคริสต์ หรือ พวกวีรบุรุษสงครามทั้งหลาย? พระองค์ตายเพื่ออะไร? การตายของพระองค์บรรลุผลอะไร? และมัน หมายความว่าอย่างไรเมื่อพระคัมภีร์ฉบับพันธสัญญาใหม่กล่าวว่าพระเยซูตายเพื่อไถ่เราจากความ บาป? เราจะมาตอบคำถามเหล่านี้กันในบทเรียนนี้
ปัญหา
ตอนที่ผมหนุ่มๆ ผมชอบเข้าหาคนและถามเขาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเขากับพระเจ้า เพื่อหวังว่าจะมี โอกาสได้บอกเขาถึงสิ่งที่พระเยซูได้ทำเพื่อเขา บ่อยครั้งพวกเขามักตอบกลับมาว่าไม่ต้องการพระเยซู ว่าชีวิตของเขาดีอยู่แล้ว สมบูรณ์ แฮปปี้ “ผมพยายามใช้ชีวิตที่ดีครับ” พวกเขามักจะพูด “และผมเชื่อว่า เมื่อผมตาย ผมก็น่าจะโอเคเพราะผมได้ใช้ชีวิตอย่างดีแล้ว” สิ่งที่พวกเขาเหล่านี้กำลังบอกคือพวกเขา ไม่ต้องการใครมาช่วยเหลือหรือกอบกู้เขา ซึ่งเป็นเพราะพวกเขาไม่เห็นว่ามีเรื่องอะไรที่เขาต้องการ ความช่วยเหลือ ทำให้เขาไม่มีความรักหรือความรู้สึกขอบคุณต่อพระผู้ช่วยคนนี้เพราะเขาไม่ได ตระหนักถึงน้ำหนักของควาบบาปและการกบฏของเขาต่อพระเจ้าผู้บริสุทธ์ิ อย่างไรก็ตามเราทุกคน ล้วนเผลิญปัญหาทั้งนั้น:
เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า (โรม 3:23)
ผมไม่รู้ว่าคุณเองเป็นยังไง แต่ส่วนตัวแล้วมันยากมากสำหรับผมที่จะพูดว่า “ผมผิดไปแล้ว ได้โปรดยก โทษให้ผมด้วย” ผมมักจะเร็วในการโยนความผิดให้คนอื่นและช้าที่จะยอมรับว่าตัวเองผิด ภรรยาผมรู้ ว่าผมเป็นคนรู้ทิศรู้ทางดีจากการออกเรือทำงานประมงอยู่หลายปีสมัยหนุ่มๆ คุณต้องหัดเรียนที่จะเดิน เรือโดยใช้พระอาทิตย์นำทาง แต่บางทีผมก็ทำพลาด พาเรือแล่นไปทิศเหนือแต่กลับคิดว่ากำลังไปทิศ
ตะวันตก และมันก็ยากมากที่ผมจะยอมรับผิดตอนนั้น มีใครรู้สึกว่ามันยากเหมือนผมไหมเวลาต้อง ยอมรับผิดบางอย่าง?
ถ้าพูดกันตามจริง เราทุกคนเคยทำสิ่งที่เรารู้ดีแก่ใจว่าผิดกันทั้งนั้น หลายคนไม่สามารถยอมรับว่าตัว เองอาจต้องยอมรับผิดที่ได้ทำ หรือแค่ยอมรับผิดสักส่วนหนึ่งก็ยังรับไม่ได้เลย เราเห็นปรากฏการณ์ แปลกประหลาดนี้ได้ชัดเป็นพิเศษเมื่อต้องกรอกใบเรียกร้องค่าชดเชยเมื่อประสบอุบัติเหตุรถยนต์ มัน เป็นตัวอย่างที่ดีมากของการที่คนเราไม่ยอมรับว่าตัวเองมีส่วนรับผิดชอบแม้สักนิด ตัวอย่างต่อไปนี้ แสดงให้เห็นว่าผู้ขับขี่มักจะยืนหยัดที่จะโทษคนอื่นเสมอ ทั้งๆที่หลายครั้งมันคือความผิดพลาดของพวก ตนเองที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ลองมาดูตัวอย่างคำแก้ตัวที่ถ้าฟังดีๆแล้วคล้ายคำพูดเหล่านี้กัน:
- “ผมไม่คิดว่ามีคันไหนผิดหรอกครับ แต่ถ้าจะต้องโทษสักคันต้องคันนั้นเลยครับ”
- “เสาไฟฟ้ามันมาเร็วค่ะ ดิฉันก็พยายามหักหลบมันแล้ว แต่มันดันชนกระโปรงหน้าดิฉันเฉยเลย”
- “ผู้ชายคนนั้นแทบจะเดินยึดทั้งถนนอยู่ละครับ! ผมต้องหักหนีเขาตั้งหลายครั้ง แต่สุดท้ายก็หนี ไม่พ้นครับ”
- “คือมันมีรถล่องหนออกมาจากไหนก็ไม่รู้ค่ะ มันชนรถดิฉันแล้วก็หายไปเลยค่ะ”
- “ผมชนกับรถกระบะที่จอดอยู่เฉยๆครับ แต่คือมันดูเหมือนมันกำลังพุ่งมาใส่ผมจากอีกทางนะ”
- “ตอนขับกลับมาดิฉันเลี้ยวเข้าผิดบ้านค่ะ แล้วก็ไปชนกับต้นไม้...ที่จริงๆแล้วไม่ควรมาโตตรงนั้น เลยค่ะ”
- “คุณต้องเข้าใจว่าผมขับรถติดต่อกันมาหนึ่งเดือนเต็ม! ไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลยสักคืน! จน สุดท้ายเผลอผลอยหลับไป เลยทำให้ขับไปชนคันนั้นครับ”
สำหรับคนถัดไปนี้ผมไม่แน่ใจว่าอะไรจะช่วยเขาได้ดีกว่ากัน จะห้องน้ำดี หรือช่างเครื่อง หรือควรเป็นครู สอนภาษาดี คุณลองเลือกเอาเองละกันครับ
- “ผมกำลังขับรถไปหาหมอปัญหาการขับถ่ายของผมตอนที่ข้อต่อสากลรถผมจู๋ๆก็หลุดผมทำให้ ประสบอุบัติเหตุครับ”
ก่อนที่เราจะเข้าใจว่าเราต้องการพระผู้ช่วยเพียงไร เราต้องย้อนกลับไปดูปัญหาใหญ่ที่สุดซึ่งมนุษย์ทุก คนต้องเผชิญ ปัญหานั้น คือ มนุษย์ทุกคนได้ทำบาปและเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า มีคนหนึ่งเคยบอก ผมว่าเขาไม่มีอะไรให้วิตกกังวลหากวันสุดท้ายของเขามาถึง เพราะครั้งหนึ่งเขาได้ช่วยเหลือคนสองคน ให้หลุดจากซากเครื่องบินตกก่อนมันจะระเบิด เขาช่วยให้สองชีวิตรอด พอผมถามว่าเขาจะทำอย่างไร กับความบาปที่เคยทำ เขาตอบว่าเขาไม่เคยทำความบาป ชายคนนี้กำลังหลงเชื่อว่าตัวเองนั้นบริสุทธิ์ กว่าคนทั่วไปและมีชีวิตดีกว่าคนส่วนใหญ่ เขาจึงมั่นใจว่าเมื่อวันแห่งการพิพากษามาถึง เมื่อพระเจ้าจะ ตัดสินมนุษย์ทุกคนจากสิ่งที่เราได้ทำ เขาต้องดีพอแน่นอน
คนส่วนใหญ่ตัดสินตัวเองว่าดีหรือเลวเพียงไรโดยการดูที่ชีวิตของคนอื่น ผมจะพยายามอธิบายโดยยก ตัวอย่างนี้ละกัน ลองนึกตามดูว่าผมอยู่กับคุณในห้องนี้เลย ห้องที่คุณกำลังอ่านประโยคนี้อยู่ แล้วผมก็ ชี้ไปที่กำแพงด้านหนึ่ง ถ้าผมบอกคุณว่ากำแพงนี้เป็นเครื่องมือวัดความดีความชั่วของมนุษย์ทุกคน ตลอดทั้งประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา แย่และชั่วที่สุดอยู่ตำ่สุด ดีสุดและบริสุทธิ์อยู่สูงสุด คุณจะให้ใครอยู่ ล่างสุดบ้าง? หลายคนบอกว่า อดอล์ฟ ฮิตเลอร์, โจเซฟ สตาลิน, ซัดดัม ฮุสเซน หรือไม่ก็เจ้านายของ พวกเขาเอง ชีวิตจริงมาเลย ส่วนด้านบนคุณจะจัดให้ใครอยู่สูงสุดบ้าง? คุณอาจเลือก แม่ชีเทเรซา, เจ้า หญิงไดอาน่า, มาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ หรือ บิลลี่ เกรแฮม ผมเชื่อว่าทุกคนเห็นด้วยกันว่าเราต่างคง กระจายกันอยู่สักที่บนกำแพง - คีธ โธมัสคงอยู่ล่างๆและคุณอาจอยู่สูงกว่าก็เป็นได้
ทีนี้คุณคิดว่าอะไรคือมาตรฐานที่เราควรใช้วัดตัวเราเอง? หลายคนคงตอบว่ากำแพงนี้แหละคือ มาตรฐาน เพราะความดีเลิศประเสริฐสุดของมนุษยชาติก็อยู่บนนั้น ทว่ากำแพงนี้ไม่ใช่สิ่งที่พระคัมภีร์ มองว่าเป็นมาตรฐาน ข้อพระคัมภีร์ที่เราเพิ่งได้อ่านไปชี้ให้เห็นว่ามาตรฐานคือพระสิริของพระเจ้า ซึ่งก็ คือ พระเยซูคริสต์ ผู้เป็นมาตรฐานอันสมบูรณ์แบบและสวยงามที่สุดของการดำเนินชีวิตในสายตา พระเจ้า มาตรฐานที่แท้จริงนั้นจึงไม่ได้ถูดวัดด้วยเพดานห้องนี้ แต่ด้วยท้องฟ้า ไม่มีมนุษย์คนใด สามารถไปถึงมาตรฐานความชอบธรรมอันสูงส่งของพระเจ้าได้ คือ พระเยซูคริสต์ เราทุกคนต่างไปไม่ ถึงเป้าหมายนั้น สิ่งนี้เองคือความหมายของความบาป—ตำ่กว่ามาตรฐาน คำว่า “sin” หรือ บาป ใน ภาษาอังกฤษมาจากคำว่า Harmatia ในภาษากรีก เป็นคำศัพท์ที่ถูกยืมมาจากการยิงธนู หากคุณไม่ สามารถยิงธนูได้ตรงจุดกลางเป้า คุณก็ไม่ได้คะแนนเต็ม ผมเชื่อว่าเราทุกคนยิงพลาดกันทั้งนั้น ไม่มี ใครดีพอ สุดท้ายแล้วพวกเราต่ำกว่ามาตรฐาน ถ้าเราเปรียบตัวเองกับโจรหรือพวกที่ข่มขืนเด็กหรือ แม้แต่เพื่อนบ้านของเรา เราอาจคิดว่าเราค่อนข้างดีใช้ได้เลย แต่เมื่อเราเอาตัวเองเปรียบเทียบกับพระ เยซูคริสต์ เราจะเห็นว่าเราต่ำกว่ามาตรฐานเพียงใด
ซัมเมอร์เซ็ต มอห์ม (Somerset Maugham) เคยกล่าวไว้ว่า “ถ้าผมบันทึกทุกความคิดที่ผมเคยคิด และ ทุกการกระทำที่ผมเคยทำ คนต้องเรียกผมเป็นอสุรกายแห่งความชั่วแน่นอน” แก่นแท้ของความบาป คือการกบฏต่อพระเจ้า (ปฐมกาล 3) และผลลัพธ์ก็คือการถูกตัดขาดจากพระองค์ เหมือนกับบุตรผู้หลง หาย (ลูกา 15) เราหนีมาไกลจากบ้านของพ่อ ชีวิตเราสะบักสะบอม หลายคนอาจจะบอกว่า “ไหนๆเรา ทุกคนก็ลงเรือลำเดียวกันอยู่แล้ว มันจะมีความหมายอะไรละ?” คำตอบคือมันมีความหมายมาก เพราะ ความบาปส่งผลกระทบต่อชีวิตเราทุกคน ผมได้แยกมันออกมาเป็นสี่หมวดหมู่ด้วยกันดังนี้ พิษของ ความบาป อำนาจของความบาป โทษของความบาป และกำแพงบาป
- พิษของความบาป
20พระองค์ตรัสว่า “สิ่งที่ออกมาจากภายในมนุษย์นั่นแหละที่ทำให้มนุษย์เป็นมลทิน 21เพราะว่า จากภายในมนุษย์หรือจากใจของมนุษย์นั่นแหละที่ความคิดชั่วร้ายเกิดขึ้นมา คือการล่วง ประเวณี การลักขโมย การฆ่าคน 22การเป็นชู้ การโลภ การอธรรม การล่อลวง ราคะตัณหา การอิจฉา การใส่ร้าย ความเย่อหยิ่ง ความเขลา 23สารพัดความชั่วเหล่านี้มาจากภายในและ ทำให้มนุษย์เป็นมลทิน” (มาระโก 7:20-23)
คุณอาจคิดว่า “ส่วนใหญ่พวกนี้ผมไม่ทำหรอก” แต่การทำแค่สักอย่างหนึ่งก็เพียงพอที่จะทำให้ชีวิตพัง ได้ เราอาจจะหวังว่าบัญญัติสิบประการจะเป็นเหมือนข้อสอบที่ต้องตอบให้ถูกสักสามข้อเป็นพอ ทว่า พระคัมภีร์พันธสัญญาใหม่บอกเราว่าการแหกกฏแม้สักข้อเดียว ก็เสมือนว่าเราได้แหกกฏทุกข้อ (ยาก อบ 2:10) บาปเดียวก็เพียงพอที่จะทำให้ชีวิตคุณเป็นมลทินได้และตัดสิทธิ์คุณจากการเข้าสวรรค์ที่เรียก ร้องความสมบูรณ์แบบเท่านั้น ตัวอย่าง เช่น มันเป็นไปไม่ได้ที่ใครจะมีประวัติการขับขี่ที่ “ค่อนข้าง สะอาด” มันมีแค่สะอาดหรือไม่สะอาด การทำผิดจราจรเพียงครั้งเดียวก็ทำให้ประวัตินั้นด่างพร้อย หรือเวลาตำรวจหยุดคุณข้อหาขับรถเร็วเกินกำหนด คุณจะไปบอกตำรวจว่าคุณไม่เคยทำผิดกฏอื่นเลย สักครั้งเดียวและหวังว่าตำรวจจะปล่อยคุณไปได้หรือ? การฝ่าฝืนกฏจราจรเพียงหนึ่งข้อก็นับว่าคุณได้ ละเมิดกฏหมายแล้ว เช่นเดียวกันกับความบาปในชีวิตเรา บาปเดียวก็ทำให้ชีวิตเราเป็นมลทินได้ คุณ คิดว่าเราต้องฆ่าคนกี่คนถึงจะถูกตราหน้าว่าเป็นฆาตกร? คนเดียวพอ! ต้องโกหกกี่ครั้งถึงจะเรียกว่า เป็นคนโกหก? ครั้งเดียว แล้วต้องทำบาปกี่ครั้งกันถึงจะถือว่าเป็นคนบาป? คำตอบยังคงเหมือนเดิม ครั้งเดียว บาปเดียวเท่านั้นเพียงพอที่จะทำให้ชีวิตของเราเป็นมลทิน
- อำนาจของความบาป
พระเยซูตรัสตอบพวกเขาว่า “เราบอกความจริงกับท่านว่า ทุกคนที่ทำบาปก็เป็นทาสของ บาป (ยอห์น 8:34)
สิ่งที่ผิดและไม่ดีทั้งหลายที่พวกเราชอบทำนั้นช่างมีพลังทำให้เราเสพติดมันอยู่เรื่อย สมัยที่ผมติดยาผม ก็รู้อยู่แก่ใจว่ามันทำลายชีวิตผม แต่มันมีพลังบางอย่างครอบคลุมผม ผมโยนยาทิ้งไปไม้รู้กี่ครั้ง แต่ สุดท้ายก็กลับไปใช้มันอีกเหมือนเดิม บางคนอาจบอกคุณว่ากัญชาไม่มีสารที่ทำให้คุณติดมันหรอก แต่ จากประสบการณ์ผมแล้วมันไม่ได้เป็นอย่างนั้น ผมไม่สามารถเลิกเสพมันได้จนกระทั่งผมมอบชีวิตให้ พระเยซูคริสต์ มันเป็นไปได้เช่นกันที่คนเราจะเสพติดยารูปแบบอื่นๆ อาจจะเป็นเหล้า หรือติดความ โกรธ ความอิจฉาริษยา ความเย่อหยิ่ง ความเห็นแก่ตัว การใส่ร้ายป้ายสี ติดเซ็กซ์หรือสื่อลามก เรายัง สามารถติดแนวคิดหรือพฤติกรรมอื่นๆบางอย่างซึ่งเราไม่สามารถสลัดมันทิ้งไปได้ด้วยตัวเราเอง สิ่ง เหล่านี้คือการเป็นทาสที่พระเยซูกล่าวถึง สิ่งต่างๆที่เราทำ ความบาปที่เรามีเอี่ยวด้วย ล้วนมีพลังเหนือ เรา ทำให้เราเป็นทาสมันได้
บิช๊อป เจ. ซี. ไรล์ (Bishop J.C. Ryle) อดีตบิช๊อปแห่งเมืองลิเวอร์พูล กล่าวว่า:
ทุกความบาปนั้นได้จับผู้คนจำนวนมากเป็นเฉลย ล่ามด้วยโซ่ที่ทั้งมือและเท้าของพวกเขา... เฉลยผู้เคราะห์ร้ายเหล่านี้บางครั้งคุยโม้ว่าพวกเขานั้นมีอิสระมากเพียงไร... ไม่มีระบบทาสใด เหมือนอย่างนี้อีกแล้ว ความบาปนี่เองคือเจ้านายที่เลวที่สุด ความทุกข์และความผิดหวังใกล้ เข้ามาเรื่อยๆ และจุดหมายปลายทางคือนรก สิ่งเหล่านี้เท่านั้นคือค่าจ้างของผู้ที่รับใช้ความบาป
- โทษของความบาป เพราะว่าค่าจ้างของบาปคือความตาย (โรม 6:23)
ผมฟังข่าวทีไรผมมักจะอดอธิษฐานไม่ได้เลย เวลาได้ยินข่าวว่าแม่จงใจฆ่าหรือทำร้ายร่างกายลูกของ ตัวเอง บางอย่างในผมเรียกร้องอยากเห็นความยุติธรรมเกิดขึ้น เวลาผมรถติดอยู่และเห็นรถคันอื่นๆวิ่ง กันในช่องสำหรับรถตำรวจหรือรถพยาบาลเท่านั้น ผมก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกโกรธและหวังว่าพวกขี้โกง ระบบเหล่านี้จะถูกปรับเสีย แต่เวลาผมเองไปทำงานสายและขับเร็วเกินกำหนดเพื่อจะไปให้ทันประชุม มันคนละเรื่องกัน ในกรณีนั้นผมไม่ต้องการความยุติธรรม ผมอยากได้ความเมตตาและความเห็นอก เห็นใจ ผมอยากให้ตำรวจปล่อยผมไปเสียที สงสัยผมคงเป็นคนหน้าไหว้หลังหลอกกระมัง อันที่จริงมัน ถูกต้องแล้วที่เราอยากเห็นความบาปได้รับโทษ กฏหมายมีอยู่เพื่อช่วยให้เราใช้ชีวิตอย่างถูกต้อง เช่น เดียวกันที่เราได้รับค่าจ้างสำหรับงานที่ทำ ความบาปก็ได้รับค่าจ้างของมัน เจ้านายของพวกเราจ่ายเรา ในจำนวนที่คู่ควรกับงานที่เราได้ทำ เรียกว่าค่าจ้าง ในแบบเดียวกันนี้พระเจ้าผู้เปี่ยมด้วยความยุติธรรม ก็จำต้องตอบแทนสิ่งที่คู่ควรกับชีวิตแห่งความบาปของเรา ซึ่งก็คือการถูกตัดขาดจากพระเจ้าชั่วนิรันดร์ พระคัมภีร์เรียกสถานนะนี้ว่านรก ค่าจ้างของความบาปคือความตาย และความตายคือการถูกตัดขาด จากพระเจ้าตลอดกาล
- กำแพงบาป
ดูเถิด มือของพระผู้เป็นเจ้ามิได้สั้นเกินที่จะช่วยให้รอดได้ หูของพระ องค์มิได้ตึงเกินที่จะได้ยิน ได้ แต่ความชั่วของท่านได้ทำให้ท่านแยกไปจากพระเจ้า และบาปของท่านได้ทำให้พระองค์ ซ่อนหน้าไปจากท่าน และทำให้พระองค์ไม่ฟัง (อิสยาห์ 59:1-2)
ความตายอันเป็นค่าจ้างของความบาปที่เปาโลพูดถึงนั้น ไม่ใช่การตายโดยกายเท่านั้น ผู้เผยพระวจนะ นามว่าอิสยาห์บอกเราว่าความตายแยกเราออกจากพระเจ้า มันคือความตายฝ่ายวิญญาณ ส่งผลให้ เกิดการแยกออกจากพระเจ้าอย่างถาวร การถูกตัดขาดจากพระเจ้าเป็นสิ่งที่เราสัมผัสได้ในชีวิตนี้ เรา ต่างรู้สึกไกลจากพระเจ้าเพราะผลของความบาป ซึ่งสถานภาพนี้ก็จะยังคงจริงอยู่เมื่อเราก้าวผ่านประตู แห่งความตายเข้าสู่ชีวิตหลังความตาย ความบาปของเราได้สร้างกำแพงกั้นเราจากพระเจ้า
คำตอบ
เราทุกคนต้องการพระผู้ช่วยเพื่อมาปลดปล่อยเราจากผลของความบาปในชีวิตเรา ลอร์ด แม็คเคย์ แห่ง แคลชเฟิร์น ผู้เป็นเสนาบดีของอังกฤษได้กล่าวไว้ว่า:
“หัวใจสำคัญของความเชื่อของเราคือการเสียสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขนเพื่อไถ่เราจาก ความบาป... ยิ่งเราตระหนักมากเพียงไรถึงความต้องการของเรา ความรักที่เรามีต่อพระองค์ก็ มากขึ้นเท่านั้น ทำให้ความปราราถนาจะรับใช้พระองค์เพิ่มขึ้นด้วย”
ข่าวดีของคริสเตียนคือพระเจ้าเห็นปัญหานี้และได้เข้ามาช่วยมอบทางออกให้เรา คำตอบของพระองค์ คือการเป็นตัวแทนรับโทษบาปแทนเรา พระองค์ลงมาจากสวรรค์ในร่างของพระเยซูคริสต์เพื่อมาตาย แทนเรา จอห์น สต๊อต (John Stott) นักเขียนหนังสือหลายเล่ม เรียกเหตุการณ์นี้ว่า “การแทนที่ของ พระเจ้า” ส่วนเปโตรอธิบายไว้ดังนี้ว่า:
พระองค์รับบาปของเราทั้งหลายไว้ในร่างกายของพระองค์บนไม้กางเขนนั้น เพื่อให้เราตายต่อ บาปและดำเนินชีวิตเพื่อความชอบธรรม ท่านทั้งหลายได้รับการรักษาให้หายได้ก็เพราะ บาดแผลของพระองค์ (1 เปโตร 2:24)
- การแทนที่ของพระเจ้า
การแทนที่ของพระเจ้านั้นจริงๆแล้วมีความหมายว่าอย่างไร? ในหนังสือของเขาชื่อว่า Miracle on the River Kwai (ปาฏิหาริย์บนแม่น้ำแคว) เออร์เนสต์ กอร์ดอน เล่าถึงเรื่องจริงของเชลยศึกกลุ่มหนึ่งช่วง สงครามโลกครั้งที่สองที่ต้องสร้างทางรถไฟสายพม่า หรือที่รู้จักกันทุกวันนี้ว่า ทางรถไฟสายมรณะ ทุกๆวันเมื่อเสร็จงานเครื่องมือต่างๆจะต้องถูกเก็บรวบรวมจากคนงานทุกคน ครั้งหนึ่งผู้คุมงานชาว ญี่ปุ่นคนหนึ่งก็ตะโกนบอกว่ามีพลั่วขาดไปอันหนึ่ง และต้องการจะรู้ให้ได้ว่าใครเป็นคนเอาไป เขาเริ่ม เอะอะโวยวายด้วยความโกรธเพราะระแวงว่าจะมีใครเอาพลั่วนั้นมาทำร้ายเขา เขาสั่งให้คนที่มีความ ผิดเปิดเพยตัวเสีย แต่ไม่มีใครขยับ “ตายให้หมด! ตายให้หมด!” เขาเริ่มแผดเสียงและเล็งปืนไรเฟิลไป ยังเหล่าเชลยพร้อมจะสับไก ทันใดนั้นเชลยคนหนึ่งก็ก้าวออกมาและยืนทำความเคารพ เมื่อผู้คุมเห็นก็ ฟาดเขาจนตายด้วยปืนไรเฟิล หลังจากทุกคนเดินทางกลับถึงค่ายพักและนับอุปกรณ์อีกที ก็พบว่าไม่มี พลั่วหายไปสักอัน ชายผู้นั้นได้ก้าวออกไปแทนที่เพื่อนเชลยของเขา ช่วยให้พวกเขารอด เช่นเดียวกัน พระเยซูคือผู้นั้นที่ได้ก้าวออกไปและทำให้ความยุติธรรมสมบูรณ์โดยการตายแทนที่เรา
- ความทุกข์ทรมานของกางเขน
พระเยซูเป็นตัวแทนของเรา พระองค์ทนทุกข์ทรมานบนกางเขนเพื่อเรา ซิเซโร (Cicero) เรียกการถูก ตรึงบนกางเขนว่า “การทรมานที่เหี้ยมโหดและสยดสยองที่สุด” พระเยซูถูกเปลื้องผ้าและผูกติดกับเสา เฆี่ยน อุปกรณ์ที่ใช้เฆี่ยนพระองค์เป็นแส้หนังสานกันสี่ห้าเส้น โดยมีก้อนกระดูกแหลมๆและลูกตุ้มเหล็ก ผูกติดเข้าอีกด้วย ยูเซบิอุส (Eusebius) นักประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในศตวรรษที่สามบรรยายถึง การถูกเฆี่ยนโดยพวกทหารโรมันดังนี้ “เส้นโลหิตของผู้ประสบความทรมาณนี้ก็แตกและเปลือยเปล่า...
ทุกกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และลำไส้ของเหยื่อก็ไร้ซึ่งเนื้อหนังไว้ปกปิด” พระองค์ถูกนำต่อไปยังศาลปรีโท เรียม ภายในป้อมปราการของพวกโรมัน ที่ซึ่งพวกเขาสวมพระองค์ด้วยมงกุฏหนาม พระองค์โดนเยาะ เย้ยและทำร้ายที่ใบหน้าและศีรษะโดยฝูงชนกว่า 600 คน ภายหลังพระองค์ต้องแบกไม้กางเขนของตัว เองบนไหล่ที่ไหลพรากด้วยเลือดจนพระองค์หมดสติ เหล่าทหารโรมันจึงต้องเกณฑ์ ซีโมนชาวไซรีน เพื่อมาแบกไม้กางเขนแทนพระองค์
เมื่อมาถึง ณ จุดตรึงกางเขนพระองค์ก็ถูกเปลื้องผ้าอีกครั้ง มือทั้งสองข้างและข้อเท้าตอกด้วยตะปูยาว หกนิ้ว เข่าของพระองค์คดงอเพื่อให้ข้อเท้าถูกตอกได้ระหว่างกระดูกหน้าแข้งและเอ็นร้อยหวาย จากน้ัน กางเขนก็ถูกดึงขึ้นและปล่อยลงในหลุมของมัน พระองค์ถูกทิ้งค้างอยู่บนกางเขน เปลือยกายในแดดที่ ร้อนระอุ ด้วยความกระหายอันสุดจะทนไหว ต่อหน้าฝูงชนที่พากันหัวเราะเยาะ พระองค์แบกรับความ ทรมานเกินคำบรรยายบนกางนั้นกว่าหกชั่วโมง ลมหายใจสั้นลงทุกนาที ทว่าที่แย่ที่สุดไม่ใช่บาดแผล ทางกาย หรือแม้กระทั่งความเจ็บปวดที่ถูกปฏิเสธจากโลกนี้และละทิ้งโดยสหายของพระองค์ แต่มันคือ ความเจ็บปวดฝ่ายวิญญาณอย่างแสนสาหัส เพราะในขณะที่พระองค์แบกรับความบาปผิดของโลกทั้ง ใบไว้ พระองค์ถูกตัดขาดจากพระเจ้าพระบิดา
ด้วยสิ่งที่พระเยซูได้ทำสำเร็จแล้วบนไม้กางเขน คือ จ่ายทุกบาททุกสตางค์เพื่อชดใช้หนี้ความบาปซึ่ง เราเองควรต้องจ่ายนั้น พระเจ้าจึงอนุญาตให้ผู้ใดก็ตามที่พร้อมจะยอมรับสิ่งนี้ได้รับการอภัยโทษอย่าง สมบูรณ์ พระเจ้าได้แสดงให้เห็นว่าพระองค์ไม่ได้ห่างไกลความเจ็บปวด พระคริสต์ได้แบกรับเอาความ เจ็บปวดทั้งหมดไปแล้ว มากกว่าที่เราหลายคนสมควรได้รับ พระองค์ตายแทนที่เรา เพื่อสำแดงความ รักยิ่งใหญ่ของพระเจ้าที่มีต่อเรา
เพราะว่าพระเจ้ารักโลกยิ่งนัก จึงได้มอบพระบุตรองค์เดียวของพระองค์เพื่อว่าผู้ใดที่เชื่อในพระ บุตรจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตอันเป็นนิรันดร์ (ยอห์น 3:16)
ผลลัพธ์
พระคัมภีร์แสดงให้เห็นสี่ภาพด้วยกัน ที่ช่วยอธิบายถึงสิ่งที่พระเยซูทำเพื่อเราบนกางเขน
21แต่บัดนี้ ความชอบธรรมของพระเจ้าได้เป็นที่ปรากฏแล้วนอกเหนือกฎบัญญัติ ซึ่งหมวดกฎ บัญญัติและหมวดผู้เผยคำกล่าวของพระเจ้าก็ได้เป็นพยานในเรื่องนี้ 22พระเจ้านับทุกคนที่มี ความเชื่อในพระเยซูคริสต์ว่า ได้รับความชอบธรรมจากพระเจ้า เพราะคนทั้งหลายไม่ต่างกัน เลย 23ด้วยว่าทุกคนได้กระทำบาป และไม่สามารถเข้าถึงพระบารมีของพระเจ้าได้ 24แต่เราพ้น
- ิดได้โดยพระคุณของพระองค์ ซึ่งมอบให้แก่เรา จากการที่พระเยซูคริสต์เป็นผู ไถ่บาป 25พระเจ้าได้ให้พระองค์เป็นเครื่องสักการะเพื่อชดใช้บาปของมนุษย์ โดยให้พวกเขามี ความเชื่อในโลหิตของพระองค์ พระองค์ได้กระทำไปก็เพื่อเป็นการแสดงความชอบธรรมของ พระองค์ เพราะเท่าที่ผ่านมาในอดีต พระองค์อดกลั้นไว้ ไม่ลงโทษคนที่ได้กระทำบาป 26แต่ใน ปัจจุบันนี้การกระทำของพระองค์แสดงถึงความชอบธรรม และในการนี้แสดงว่า พระองค์เป็นผู้ มีความยุติธรรม และพระองค์เป็นผู้ถือว่า คนที่มีความเชื่อในพระเยซูพ้นผิดแล้ว (โรม 3:21-26)
- ภาพแรกคือที่พระวิหาร
พระเจ้าได้ให้พระองค์เป็นเครื่องสักการะเพื่อชดใช้บาปของมนุษย์ โดยให้พวกเขามีความเชื่อ ในโลหิตของพระองค์ (โรม 3:25)
ในพระคัมภีร์ฉบับพันธสัญญาเดิมนั้นมีบทบัญญัติเจาะจงสำหรับการจัดการกับความบาป มีระบบ ชัดเจนสำหรับการถวายเครื่องสักการะ แสดงให้เห็นถึงน้ำหนักและความร้ายแรงของบาป รวมถึงความ จำเป็นที่จะต้องชำระความบาป ในกรณีทั่วไปผู้กระทำบาปต้องไปสรรหาสัตว์ในสภาพสมบูรณ์ที่สุดเท่า ที่หาได้ เขาจะเอามือวางบนตัวสัตว์นั้นและสารภาพบาปที่ทำ เป็นการถ่ายทอดบาปจะผู้กระทำบาปไป ยังสัตว์ ก่อนจะนำสัตว์ไปฆ่า การสังเวยชีวิตสัตว์นี้เป็นภาพที่แสดงให้เห็นว่าผลของความบาปคือความ ตาย และทางออกเดียวคือต้องมีบางอย่างตายแทนที่ เราเห็นภาพนี้อย่างแจ่มชัดเมื่อยอห์นผู้ให้บัพติศ มา ขณะที่เห็นพระเยซูกำลังเดินตรงมาหาท่าน กล่าวว่า “ดูสิ ลูกแกะของพระเจ้า เป็นผู้ที่รับเอาบาปของ โลกไป” (ยอห์น 1:29)
- ภาพที่สองคือที่ตลาด
แต่เราพ้นผิดได้โดยพระคุณของพระองค์ ซึ่งมอบให้แก่เรา จากการที่พระเยซูคริสต์เป็นผู้ ไถ่บาป (โรม 3:24)
หนี้สินไม่ใช่ปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบันเท่านั้น มันมีมาแต่โบราณกาล ทางออกเดียวของผู้ที่มีหนี้ ท่วมหัวคือการขายตัวเองเป็นทาสรับใช้ ไม่ก็ถูกบังคับโดยเจ้าหนี้เองให้เป็นทาสเพื่อชดใช้หนี้ที่ติดค้าง อยู่ แต่สมมติว่าเพื่อนเขาบังเอิญมาเดินตลาดและเห็นเหตุการณ์นี้ สอบถามราคาของเขา และก็ตัดสิน ใจจ่ายหนี้ที่เขาติดค้างอยู่ทั้งหมด ปลดปล่อยเขาให้เป็นไท ถือว่าเพื่อนคนนี้ได้ไถ่เขาและกู้เขากลับมา เช่นเดียวกันนี้ พระเยซูก็ได้จ่าย “ค่าไถ่” เพื่อจะซื้อเราจากตลาดค้าทาสความบาปของซาตาน
- ภาพที่สามคือที่ศาล
แต่เราพ้นผิดได้โดยพระคุณของพระองค์ ซึ่งมอบให้แก่เรา (โรม 3:24)
เปาโลกล่าวว่า “เราพ้นผิดได้โดยพระคุณของพระองค์ ซึ่งมอบให้แก่เรา” คำว่า พ้นผิด เป็นภาษาทา งกฏหมาย หากคุณไปศาลและถูกตัดสินว่าคุณพ้นจากทุกข้อกล่าวหา ก็ถือว่าคุณบริสุทธิ์แล้ว ครั้งหนึ่ง มีเด็กสองคนเริ่มเรียนที่โรงเรียนเดียวกัน จากนั้นก็ไปต่อมหาวิทยาลัยเดียวกัน จนกลายเป็นเพื่อนสนิท กัน แต่เมื่อจบการศึกษาต่างคนก็ไปตามทางของตัวเองและห่างหายกันไป คนหนึ่งไปเป็นผู้พิพากษา ส่วนอีกคนเป็นอาชญากร วันหนึ่งคนที่เป็นอาชญากรก็ต้องขึ้นศาลต่อหน้าผู้พิพากษาท่านนี้ เขาได้ กระทำความผิดและยอมรับผิดทุกประการ ผู้พิพากษาจำเพื่อนเก่าได้แต่ต้องเผชิญกับภาวะกลืนไม่เข้า คายไม่ออก ในฐานะผู้พิพากษาท่านจำเป็นต้องตัดสินอย่างยุติธรรม ท่านจะปล่อยเพื่อนท่านไปไม่ได้ แต่ในทางกลับกันท่านก็ไม่อยากต้องตัดสินให้เพื่อนรับโทษเพราะรักเพื่อน ท่านจึงบอกเพื่อนว่าเขาจำ ต้องถูกปรับโทษตามความผิดจริงที่ได้กระทำ นั้นคือความยุติธรรม แต่แล้วท่านก็ลงมาจากบัลลังก์ผู้ พิพากษา เขียนเช็คตามจำนวนค่าปรับของเพื่อน และมอบมันให้กับเขา พร้อมบอกว่าท่านจะเป็นคน จ่ายค่าปรับนี้แทนเขาเอง นั้นคือความรัก
ความรักนี้แสดงให้เห็นถึงสิ่งที่พระเจ้าได้ทำเพื่อเรา ด้วยควายุติธรรมพระองค์ตัดสินเราเพราะบาปผิดที่ ได้กระทำ แต่ด้วยความรักพระองค์เสด็จมาในร่างของบุตรพระองค์ คือ พระเยซู และรับโทษแทนเรา
โดยการทำเช่นนี้พระองค์คงความ ‘ยุติธรรม’ (เพราะพระองค์ไม่ได้ปล่อยให้ผู้กระทำความผิดลอยนวล) ในเวลาเดียวกันก็ทำใ้ห้เราพ้นผิดและบริสุทธิ์—โรม 3:26 (เพราะพระองค์รับโทษนั้นเอง ผ่านทางบุตร ของพระองค์ ปลดปล่อยเราให้เป็นไท)
อย่างไรก็ตามตัวอย่างข้างต้นนั้นห่างไกลความเป็นจริงเพราะเหตุผลสามประการ อันดับแรกคือสถาน กาณ์ของเรานั้นร้ายแรงกว่ามาก บทลงโทษที่เราสมควรได้รับไม่ได้เป็นเพียงค่าปรับ มันคือความตาย และไม่ใช่ความตายแต่เพียงร่างกาย แต่คือการถูกตัดขาดจากผู้ให้กำเนิดชีวิต—ความตายฝ่าย วิญญาณ—ตัดขาดจากพระเจ้าชั่วนิรันดร์ อันดับที่สองคือความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเจ้านั้นใกล้ ชิดกันมากกว่า ไม่ใช่แค่เพื่อนสองคน แต่พระองค์คือพ่อ เป็นพระบิดาในสวรรค์ที่รักเรามากกว่าพ่อแม่ คนใดในโลกรักลูกของตน อันดับที่สามคือราคาที่ต้องจ่ายนั้นแตกต่างกันลิบลับ พระเจ้าไม่ได้จ่ายด้วย เงิน แต่ด้วยชีวิตของบุตรองค์เดียวของพระองค์เพื่อไถ่เราจากบาปที่ติดค้างอยู่ มันไม่ใช่บุคคลที่สาม ที่ไหน แต่เป็นพระเจ้าเองผู้กอบกู้เรา
- ภาพที่สี่คือที่บ้าน
คือพระเจ้าให้โลกคืนดีกับพระองค์โดยผ่านพระคริสต์ พระองค์ไม่ถือโทษในการผิดบาปของ มนุษย์ (2 โครินธ์ 5:19)
สิ่งเดียวกันที่เกิดขึ้นกับบุตรน้อยผู้หลงหายก็สามารถเกิดขึ้นกับเราด้วยเช่นกัน พระเจ้าได้ช่วยให้เรา กลับคืนดีกับพระองค์อีกครั้งโดยการลบล้างบาปที่เราได้เคยทำ เราเพียงแต่ต้องยอมรับของขวัญแห่ง รักและพระคุณนี้ พระองค์ได้แทนที่คุณเพื่อจะสามารถให้อภัยคุณได้ คุณจะยอมรับการอภัยโทษฟรีๆนี้ หรือไม่?
ในปี 1829 มีชายคนหนึ่งจากฟิลาเดลเฟียนามว่า จอร์จ วิลสัน เขาทำการปล้นที่ทำการไปรษณีย์ แห่งหนึ่ง พร้อมฆ่าคนอีกหนึ่งคน แต่ไม่นานวิลสันก็ถูกจับกุมตัวและนำขึ้นศาล ถูกตัดสินว่ามี ความผิดและต้องรับโทษเป็นการแขวนคอ เพื่อนของเขาจำนวนหนึ่งเข้ามาแทรกแซกได้ทัน เวลา จนสุดท้ายเขาก็ได้รับการอภัยโทษจากประธานาธิบดีแอนดรูว์ แจ็คสัน ทว่าเมื่อวิลสัน ทราบข่าวดีนั้นเขากลับปฏิเสธการอภัยโทษ ด้านนายอำเภอก็ไม่กล้าดำเนินการลงโทษต่อ เพราะเขาจะแขวนคอคนที่ประธานาธิบดีอภัยโทษให้ได้อย่างไร? เมื่อประธานาธิบดีรับรู้ก็ ประหลาดใจเป็นอย่างมาก จึงต้องปรึกษาศาลสูงสุดว่าควรทำอย่างไรต่อ ประธานศาลสูงสุด มาร์แชลตัดสินว่าการอภัยโทษนั้นเป็นเพียงกระดาษแผ่นหนึ่งเท่านั้น คุณค่าของมันอยู่ที่การ ยอมรับสารนี้จากผู้ได้รับการอภัยโทษ มันยากที่จะจินตนาการว่าใครก็ตามที่ถูกตัดสินประหาร ชีวิตจะปฏิเสธการอภัยโทษ แต่ในกรณีที่มันถูกปฏิเสธ ผู้มีความผิดก็ถือว่าไม่ได้ถูกอภัยโทษ จอร์จ วิลสันต้องถูกแขวนคอ และวิลสันก็ถูกประหารสมปรารถนา ทั้งที่สารอภัยโทษของเขายัง อยู่บนโต๊ะนายอำเภอแท้ๆ ส่วนคุณจะทำอย่างไรกับสารอภัยโทษของคุณ ที่ได้รับจากประธาน ศาลสูงสุดของจักรวาล?
คุณผู้อ่านคิดว่าถึงเวลาที่คุณเองจะอธิษฐานต่อพระเจ้าผู้ที่รักคุณมากมาย และได้เปิดทางให้คุณได้รับ การอภัยจากบาปผิดที่ได้ทำแล้วหรือยัง? คุณอาจจะอยากอธิษฐานด้วยความจริงใจตามนี้ว่า:
ข้าแต่พระบิดาในสวรรค์ ลูกขอโทษสำหรับทุกสิ่งที่ลูกทำผิดไปในชีวิต (ใช้เวลานี้ขอพระเจ้ายกโทษคุณ สำหรับสิ่งใดก็ตามที่คุณนึกออกที่ยังอาจฝังอยู่ในใจคุณ) โปรดยกโทษให้ลูกด้วย ลูกขอหันจากทุกสิ่ง ที่ลูกรู้ดีว่าผิด ลูกขอบคุณพระองค์ที่ส่งพระบุตรของพระองค์ คือ พระเยซู เพื่อลงมาตายบนไม้กางเขน
เพื่อลูกจะได้รับการอภัยจากบาปและเป็นไท จากนี้ไปลูกจะติดตามและเชื่อฟังพระองค์พระเจ้าของลูก ลูกขอบคุณที่พระองค์ได้มอบของขวัญแห่งการอภัยและของขวัญแห่งพระวิญญาณของพระองค์ แก่ลูก ลูกขอรับมันไว้ในเวลานี้ โปรดเชิญเข้ามาในชีวิตลูก ลูกอยากเป็นของพระองค์ตลอดไป ลูกขอสิ่งเหล่า นี้ในนามของพระเยซูคริสต์ เอเมน
เนื้อหาหลายส่วนในบทเรียนนี้มาจากหลักสูตรอัลฟ่า (Alpha Course) โดยนิกกี้ กัมเบิ้ล (Nicky Gumbel) ผมขอแนะนำหนังสือของเขาด้วย ชื่อว่า คำถามแห่งชีวิต (Questions of Life) ตีพิมพ์โดย สำนักพิมพ์คิงส์เวย์ (Kingsway Publishers)
ดัดแปลงโดย คีธ โธมัส (Keith Thomas)
อีเมล: keiththomas@groupbiblestudy.com
เว็บไซต์: www.groupbiblestudy.com